การปลูกดอกดาหลาบ้านปลายอวน

การปลูกดอกดาหลาของชุมชนบ้านปลายอวน

ในอดีตชุมชนบ้านปลายอวนเป็นชุมชนใหญ่เป็นหมู่บ้านที่รวมกลุ่มอยู่ด้วยกัน มีคลองปลายอวน ไหลผ่านกลางหมู่บ้าน เมื่อมีการขยายของจำนวนประชากร เพิ่มมากขึ้น ก็ได้ แยกเป็นชุมชนปลายอวนบนและชุมชนบ้านปลายอวนล่าง แยกออกมาเพื่อประโยชน์ทางการปกครอง ปัจจุบัน ชุมชนบ้านปลายอวนบน อยู่ในหมู่ที่ 2 ต.พรหมโลก อ.พรหมคีรี ชื่อของปลายอวนบนในอดีตได้มาจากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุ บางท่าน กล่าวว่า ในอดีตของผู้ที่ทำอาชีพประมงน้ำจืดหลังจากการจับสัตว์น้ำ โดยใช้ “อวน”เป็นเครื่องมือจับเสร็จก็นำไปตากแดดเพื่อให้อวนแห้งบน ที่ดอนของชุมชนและเป็นตอนปลายของต้นน้ำจึงเรียกชุมชนแห่งนี้ว่า”ปลายอวนบน” และในพื้นที่ใกล้เคียงกันกับประวัติของชุมชนก็เรียกว่า “บ้านบนดอน” แต่ผู้เฒ่าผู้แก่ บางท่านก็บอกจากคำบอกเล่าต่อกันมาว่า บริเวณบ้านปลายอวน ในอดีตอยู่ติดทะเล ส่วนบ้านนอกท่า ก็เป็นท่าน้ำ เมื่อออกเรือกลับขึ้นฝั่งก็เอา อวน มาตาก แต่ทั้งสองความเชื่อ ก็พอมีหลักฐานอ้างอิง เชื่อถือได้ เพราะชาวบ้านบนดอน ได้ขุดบ่อน้ำลึกลงไปเกือบ 20 เมตรก็ไปเจอต้นตะเคียนขนาดใหญ่ฝังอยู่ จึงพออ้างอิงกับที่มาของชื่อชุมชนบ้านปลายอวนได้
อาณาเขตที่ตั้งบ้านปลายอวน มีที่ตั้ง ทิศตะวันตกติดกับวนอุทยานแห่งชาติเขาหลวงและน้ำตกพรหมโลก ทิศเหนือติดกับชุมชนบ้านพรุชนใต้ ทิศตะวันออกติดกับตลาดนอกท่า และชุมชนบ้านห้วยหยี บางส่วน ทิศใต้ติดกับบ้านปลายอวนล่าง โดยมีลำคลองปลายอวนเป็นเส้นกั้นอาณาเขต


เป็นชุมชนชนบทอาศัยอยู่ที่ราบเชิงเขาหลวงนครศรีธรรมราชอาชีพหลักของชุมชนบ้านปลายอวน ก็เหมือนกับชุมชนอื่นๆในอำเภอพรหมคีรี ก็คือทำสวนผลไม้ ปลูกแซมลงไปในพื้นที่ป่าเดิม เช่น มังคุด เงาะ ทุเรียน สะตอ ลางสาด เรียกรวมๆว่า “สวนสมรม” ซึ่งยังคงรักษาสภาพป่า และต้นไม้ใหญ่ไว้ แต่ที่พิเศษไปจากที่อื่นก็คือการปลูก “ดอกดาหลา” ปลูกแซมลงไปบนพื้นที่ว่างในสวนสมรม ปลูกทุกอย่างที่กินได้ และกินทุกอย่างที่ปลูก และเป็นเส้นทางเดินป่าสู่ยอดเขาหลวง ในท้องถิ่นมีการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติบ้านปลายอวน
ปัญหาของชุมชน ก็คือ เรื่องเล่นการพนัน ที่มีนักพนันมืออาชีพและมือสมัครเล่น สืบต่อเป็นรุ่นไป อยู่หลายครัวเรือน สาเหตุ ส่วนหนึ่งมาจากรายได้จากสวน ยาง สวนผลไม้ ที่ได้เป็นกอบเป็นกำ ใช้จ่ายอย่างสะดอกสบาย ไม่ต้องทำมาหากิน อย่างลำบาก เหมือนอาชีพอื่น หรือแหล่งชุมชนอื่น ก็สามารถพออยู่ พอกินได้ เมื่อมีเวลาว่างมาก ก็รวมกลุ่มเล่นการพนันกัน เมื่อติดพนันมากเข้า ก็ไม่ค่อยมาเวลาทำงานดูแลสวน อย่างเต็มที่ ก็ไปกู้ยืม โดยเฉพาะ กองทุนหมู่บ้าน ที่มี 2 กองทุนด้วยกัน โดยกองทุน แรกตั้งขึ้นมาประมาณ พ.ศ. 2538 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร เรียกว่า “สัจจะหมู่บ้าน” ส่วนกองทุนหลัง เรียกว่า “กองทุนเงินล้าน” ที่รัฐบาลให้เงินมา กรรมการชุมชนก็เอามาจัดตั้งเป็นกองทุนกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำ


รายได้หลักของชุมชนบ้านปลายอวน รายได้เฉลี่ยประมาณ 45,000 บาท/ครัวเรือน/ปี (ข้อมูลจากการทำแผนชุมชน ปี2547) มาจากสวนยางพาราและสวนผลไม้ หรือที่เรียกอีกชื่อว่าสวนสมรม เพราะปลูกหลากหลายชนิด พืชผัก ผลไม้ที่ปลูกก็ออกผลไม่พร้อมกัน ทำให้มีรายได้ตลอดทั้งปี เช่น ขนุน จำปาดะสะตอ ลูกเนียง หมาก พลู กล้วย ผักเหรียง ผักกูด ใบมะกรูด สับปะรด ฯลฯ หรือที่เก็บเกี่ยวในฤดูที่ออกผลพร้อมๆกันช่วงเดือน ก.ค. - ก.ย. ของทุกปี เ ช่น มังคุด เงาะ ทุเรียน ลางสาด ลองกอง บางรายที่ปลูกแล้วไม่ค่อยดูแล ก็ออกผลไม่เต็มที่ บางปี ก็ไม่ออกผล ทำให้ขาดรายได้ จึงหันมาปลูกดอกดาหลา เริ่มแรกก็จะมี “สวนศรีไพร” ของนายสงวน แสนวิจีตร และสวนของนายพราว ครุฑธามาศ ต่อมาก็จะแบ่งต้นพันธ์แยกไปไปตามสวนต่างๆ กระจายออกไป บางรายก็ปลูกตามกระแสนิยม ไม่ค่อยดูแล ตัดตกแต่งกอ ทำให้ไม่ค่อยออกดอก จนกระทั่งปล่อยร้างไป เนื่องจากพื้นที่ในชุมชนบ้านปลายอวน อยู่บริเวณต้นน้ำ ดินชุมชื้น ฝนตกเกือบตลอดทั้งปี ปลูกพืชผักอะไรลงไปก็ได้ผลดี ชาวบ้านที่ขยันทำมาหากิน ก็ปลูกผักต่างๆในพื้นที่ว่าง จนเกือบทุกตารางเมตรในสวน เต็มไปด้วยพืชพัก ไม้ยืนต้นและคอก ดาหลา เพราะเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ ดีในที่มีแสงแดดรําไรหรือที่ร่มไม้ ยืนต้น หากโดนแดดจัดเกินไปสีของกลีบประดับจะจางลง และ ทําให้ใบไหม้
ขั้นตอนการปลูก การปลูกดาหลาสามารถปลูกได้ ทุกฤดูแต่ ฤดูปลูกที่เหมาะสมที่สุด คือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งดาหลาจะมีการเจริญเติบโตทางด้านลําต้นและแตกหน่อดี ช่วงที่ดาหลาแตกหน่อได้มากคือ เดือนกรกฎาคม ถึง เดือนสิงหาคม ในที่ๆ มีนํ้าเพียงพอไม่ จําเป็นต้องรอฤดูฝน การปลูกโดยใช้ หน่อที่มีเหง้าและรากติดมาด้วย เหง้าที่ตัดมาควรมีความยาวประมาณ 5 นิ้ว ที่แยกมาจากกอต้นดาหลา ตัดรากให้สั้น และตัดต้นเดิมออกให้เหลือยาวประมาณ ฟุตครึ่ง ปลูกลงในหลุมที่ขุดเตรียมไว้ กว้าง ยาวประมาณ 1 ฟุต พรวนดินให้ร่วนซุย จากนั้นก็เอาหน่อต้นพันธ์ลงปลูกระยะห่างประมาณ 2 เมตร ปลุกในบริเวณที่ว่างในสวนผลไม้ ในชุมชนบ้านปลายอวน จะมีดอกดาหลาสีแดงอยู่มากมาย จะมีปลูกไว้ในบริเวณที่ว่างหลังบ้าน เอาไว้เก็บดอก หรือหน่ออ่อนจิ้มน้ำพริก หรือทำข้าวยำสมุนไพร จึงง่ายต่อการหาพันธ์ ไม่ต้องไปซื้อหาให้สิ้นเปลือก แต่หากเป็นสีชมพูอ่อน สีแดงหยดเลือด หรือสีขาว เดิมทางทางคุณสงวน แสนวิจิตร ที่เป็นคนแรกในชุมชน ที่ซื้อต้นพันธ์มาปลูก ในราคาต้น 350 บาท แล้วค่อยขยายพันธ์ออกไป จนขณะนี้ปลูกเต็มพื้นที่สวนสมรม เนื้อที่ 6ไร่ ส่วนสวนอื่นๆจะมีแต่ดอกดาหลาสีแดง


การดูแลรักษา การปลูกดอกดาหลา จะไม่มีแมลงใดๆมารบกวน จึงไม่ต้องใช้สารเคมี ดูแลเพียงหมั่นตัดต้นแก่หรือดอกที่บานจนแก่จัด โดยสังเกตจากกลีบดอกร่วงเหลือแต่เกสรดอก ก็ตัดออกทิ้ง ซึ่งหากไม่ตัดออกดอกใหม่ ก็จะไม่แตกขึ้นมา
การเก็บเกี่ยวและการจำหน่าย การปลูกดอกดาหลาจะตัดออกจำหน่าย อาทิตย์ละครั้ง ตัดได้ครั้งละประมาณ 1,000 -1,500 ดอก ซึ่งราคาจำหน่ายดอกละ 3 บาท ในช่วงปีแรกที่เริ่มปลูกจำหน่าย เพราะมีไม่กี่ราย คุณสงวนและคุณลุงพราว เล่าให้ฟัง แต่ปัจจุบันราคาลดลงเหลือเพียงดอกละ 1.50 บาท เนื่องจากมีการปลูกมากขึ้นหลายราย และขายตัดราคากัน ทั้งที่ตลาดมีความต้องการสูง โดยเฉพาะตลาดประเทศเพื่อนบ้าน มาเลเซีย นิยมซื้อดอกตูมไปบริโภค และแม่ค้าคนกลางก็จะเข้ามารับซื้อถึงสวน นำไปส่งขายที่ตลาดพืชผล หัวอิฐ ใน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นตลาดค้าส่งผัก ผลไม้ แหล่งใหญ่ในภาคใต้ นอกจากนั้นแม่ค้าขายข้าวยำในตลาด ร้านอาหารต่างๆหลายราย ก็จะเข่ามาซื้อถึงสวน นอกจากดอกตูบที่เป็นที่ต้องการของตลาดแล้ว ดอกบาน ก็จะเป็นที่นิยมในการนำไปจัดดอกไม้ในงานต่างๆ ร้านดอกไม้ สถานศึกษา ส่วนราชการ จึงเป็นตลาดรองลงมา การปลูกดอกดอกหลาในชุมชนบ้านปลายอวน จึงไม่ต้องสิ้นเปลืองเรื่องค่าขนส่ง
การบริหารจัดการเรื่องการตลาด ในปัจจุบัน ยังไม่มีหน่วยงานใด เข้ามาดูแลหรือส่งเสริมเรื่องการตลาด การรวมกลุ่มจำหน่าย หรือการประกันราคา แต่ก็มี คุณสงวน ที่ชักชวนผู้ปลูกดอก ดาหลารายอื่น มารวมกลุ่มขายดอกดาหลา เพื่อรักษาราคาจำหน่ายให้อยู่ ที่ดอกละ 3 บาท โดยมีผู้เข้ากลุ่มหลายราย ในช่วงเดือน เม.ย. – พ.ค.ที่ดอกดาหลาออกดอกมา ก็ยอมตัดดอกทิ้ง เพื่อรักษาราคาไว้ แต่มีบางรายที่ไม่เข้ากลุ่ม ช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ก็ขายตัดราคา โดยลดราคาลงมา จนปัจจุบันราคาเหลือเพียงแค่ดอกละ 1.50 บาทเท่านั้น

ความคิดเห็น